วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

สมการต้นฉบับ (Master Equation)

สวัสดีครับทุกคน หลังจากหายไปนาน วันนี้จะมาพูดถึงที่มาของ สมการต้นฉบับ (Master Equation) ที่ชื่อภาษาอังกฤษไม่ค่อยสื่อความหมายสักเท่าไหร่ สมการนี้ใช้อธิบายการวิวัฒน์ไปของระบบที่เป็นแบบสุ่ม (stochastic process) โดยที่เวลาใดเวลาหนึ่ง สถานะของระบบสามารถอธิบายได้ด้วย ความน่าจะเป็น ซึ่งจะแตกต่างจากระบบที่เป็นแบบแม่นตรง (deterministic process) ที่เรารู้สถานะของระบบได้อย่างแน่นอน

ก่อนอื่นเพื่อความง่าย ให้พิจารณาระบบที่เราสนใจ มีสถานะที่ต่อเนื่อง (continuous) ในหนึ่งมิติ (1 dimension) แทนด้วยสัญลักษณ์ \(x,x',x'',\cdots\) และแทนความน่าจะเป็นที่ระบบอยู่ในสถานะ \(x\) ที่เวลา \(t\) ด้วย \(P(x,t)\) เงื่อนไขของความน่าจะเป็นมีดังนี้ \begin{eqnarray} \int P(x',t')\md{x'} &=& 1,\nonumber\\ \int P(x'',t''|x',t')P(x',t')\md{x'} &=& P(x'',t''),\nonumber\\ \int P(x'',t''|x',t')P(x',t'|x,t)\md{x'} &=& P(x'',t''|x,t). \label{eq:norm_cons} \end{eqnarray} โดยที่ \( P(x',t'|x,t) \) แทนความน่าจะเป็นที่เจอระบบในสถานะ \(x'\) ที่เวลา \(t'\) ภายใต้เงื่อนไข ระบบอยู่ในสถานะ \(x\) ที่เวลา \(t\) นอกจากนี้ ยังสมมุติว่าระบบวิวัฒน์ไปตาม กฎลูกโซ่ของมาร์คอฟ (Markov chain) และมีอัตราการเปลี่ยนสถานะ (transition rate) จากสถานะหนึ่งไปยังสถานะหนึ่งที่ ไม่ขึ้นกับเวลา

พิจารณา \( P(x'',t''|x',t') \) เมื่อเวลาเปลี่ยนไปจากเดิมเพียงเล็กน้อย นั่นคือ \(t''=t'+\triangle t\) เมื่อ \(\triangle t\) มีค่าน้อยมากๆ เราสามารถกระจายเทอม \( P(x'',t'+\triangle t|x',t') \) ได้เป็น \begin{equation} \label{eq:cons_prob_exp} P\left(x'',t'+\triangle t|x',t'\right) =\left[1- \triangle t \int W\left(x'''|x'' \right)\md{x'''} \right] \delta\left(x''-x' \right) + \triangle t W\left(x''|x' \right) + O(\triangle t^{2}). \end{equation} โดยที่ \(W\left(x''|x' \right)\) เป็นอัตราการเปลี่ยนสถานะ จากสถานะ \(x'\) ไปยังสถานะ \(x''\) และ \(O(\triangle t^{2})\) แทนเทอมถัดไปที่ขึ้นกับ \(\triangle t^{2}\) สังเกตว่าเมื่อ \(\triangle t\rightarrow 0\) เราจะได้ \(P\left(x'',t'+\triangle t|x',t'\right) = \delta\left(x''-x' \right)\) ตามข้อกำหนดเริ่มต้น

ต่อไปเรามาพิจารณาสมการที่ (\ref{eq:norm_cons}) \begin{equation} P\left(x'',t'+\triangle t|x,t\right) =\int P\left(x'',t'+\triangle t|x',t'\right) P\left(x',t'|x,t\right)\md{x'}. \label{eq:norm_cons2} \end{equation} และแทนค่าสมการที่ (\ref{eq:cons_prob_exp}) ในสมการที่ (\ref{eq:norm_cons2}) และละทิ้งเทอม \(O(\triangle t^{2})\) จะได้ \begin{align} P\left(x'',t'+\triangle t|x,t\right) &=\int P\left(x',t'|x,t\right)\md{x'} \delta\left(x''-x'\right) + \triangle t \int P\left(x',t'|x,t\right)\md{x'}\nonumber\\ &\quad\times\left[ W\left(x''|x' \right) -\int W\left(x'''|x'' \right)\md{x'''} \delta\left(x''-x' \right) \right],\nonumber\\ \lim_{\triangle t\rightarrow 0}& \frac{P\left(x'',t'+\triangle t|x,t\right)- P\left(x'',t'|x,t\right)}{\triangle t}\nonumber\\ &= \int W\left(x''|x' \right) P\left(x',t'|x,t\right)\md{x'} - \int W\left(x'''|x'' \right) P\left(x'',t'|x,t\right)\md{x'''},\nonumber\\ \frac{\partial P\left(x'',t'|x,t\right)}{\partial t'}&= \int W\left(x''|x' \right) P\left(x',t'|x,t\right)\md{x'} - \int W\left(x'''|x'' \right) P\left(x'',t'|x,t\right)\md{x'''},\nonumber\\ \frac{\partial P\left(x'',t'|x,t\right)}{\partial t'}&= \int\left[ W\left(x''|x' \right) P\left(x',t'|x,t\right) -W\left(x'|x'' \right) P\left(x'',t'|x,t\right)\right]\md{x'}. \end{align} โดยในบรรทัดสุดท้ายมีการเปลี่ยนตัวแปรจาก \(x''' \) เป็น \(x'\) หลังจากนั้นคูณสมการสุดท้ายด้วย \(\int \md{x}P(x,t)\) และใช้สมการ (\ref{eq:norm_cons}) เราจะได้ \begin{eqnarray} \frac{\partial P\left(x'',t'\right)}{\partial t'}&=& \int\left[ W\left(x''|x' \right) P\left(x',t'\right) -W\left(x'|x'' \right) P\left(x'',t'\right)\right]\md{x'},\nonumber\\ \frac{\partial}{\partial t} P\left(x,t\right)&=& \int\left[ W\left(x|x' \right) P\left(x',t\right) -W\left(x'|x \right) P\left(x,t\right)\right]\md{x'}. \label{eq:master_eq} \end{eqnarray} โดยมีการเปลี่ยนตัวแปรอีกครั้งจาก \(x'',t'\) เป็น \(x,t\) ในบรรทัดสุดท้าย สมการ (\ref{eq:master_eq}) มีชื่อว่าสมการต้นฉบับ (Master Equation)

สำหรับระบบที่มีสถานะไม่ต่อเนื่อง แทนด้วย \( i,j,\cdots\) สมการต้นฉบับเขียนได้เป็น \begin{equation} \frac{\partial}{\partial t}P_{i}(t) = \sum_{j}\left[W_{i\leftarrow j}P_{j}(t) -W_{j\leftarrow i}P_{i}(t) \right]. \label{eq:master_eq_dis} \end{equation} โดย \(P_{i}(t)\) แทนความน่าจะเป็นที่จะเจอระบบอยู่ในสถานะ \(i\) ที่เวลา \(t\) และ \(W_{i\leftarrow j}\) แทนอัตราการเปลี่ยนสถานะ จากสถานะ \(j\) ไปยังสถานะ \(i\)

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สนามสเกลาร์และเวกเตอร์ (Scalar and vector fields)

สเกลาร์และเวกเตอร์คืออะไร?

เมื่อพูดถึงปริมาณทางฟิสิกส์ หลายคนคงจะพอนึกออกว่ามีปริมาณอะไรบ้าง เช่น อุณหภูมิ มวล ความเร็วลม เป็นต้น ปริมาณเหล่านี้ แต่ล่ะตำแหน่ง อาจขึ้นอยู่กับ ทิศทาง

พยากรณ์อากาศวันนี้บอกว่า ภาคใต้อุณหภูมิเฉลี่ย 30-32 องศาเซลเซียส (\(^{\circ}\text{C}\)) ส่วนความเร็วลม 21 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (km/h) ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ (SE)

เราคงไม่เคยได้ยินพยากรณ์อากาศว่า วันนี้ภาคใต้อุณหภูมิเฉลี่ย 30-32 องศาเซลเซียส (\(^{\circ}\text{C}\)) ในทิศเหนือ (N) และความเร็วลม 21 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (km/h) ใช่มั้ย (คงแปลกพิลึก 😜) ดังนั้นเมื่อเราจะบอกปริมาณทางฟิสิกส์ (อุณหภูมิ ความเร็วลม) เราต้องบอกให้เหมาะสม

  • ปริมาณสเกลาร์ (scalar quantity) คือ ปริมาณที่ไม่มีทิศทาง เช่น อุณหภูมิ อัตราเร็วลม มวล

  • ปริมาณเวกเตอร์ (vector quantity) คือ ปริมาณที่มีทิศทาง เช่น ความเร็วลม น้ำหนัก
  • หมายเหตุ: อย่างไรก็ดีเราสามารถแปลงปริมาณเวกเตอร์ไปเป็นปริมาณสเกลาร์ได้ เช่น จากความเร็วลมไปเป็นอัตราเร็วลม น้ำหนักไปเป็นมวล เป็นต้น

    เอาล่ะครับ เราคงทราบกันแล้วว่า ปริมาณสเกลาร์และเวกเตอร์ คืออะไร ต่อไปเรามาดูสนามสเกลาร์และเวกเตอร์ (ชื่อฟังดูน่ากลัว 😎)

    สนามสเกลาร์และเวกเตอร์คืออะไร?

    อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่าปริมาณทางฟิสิกส์นั้นขึ้นอยู่กับ แต่ล่ะตำแหน่ง (สถานที่) ให้เราจินตนาการถึงสนามหญ้าหน้าบ้านคนอื่น (ซึ่งมักจะเขียวกว่าหน้าบ้านตัวเองเสมอ) หญ้าแต่ล่ะต้นคงโตไม่เท่ากัน ถ้ามีใครบอกตำแหน่งในสนามหญ้ามา เราคงเดินและไปถอนหญ้าต้นนั้นออกมาได้

    หญ้าแต่ล่ะต้นในที่นี้แทน ปริมาณทางฟิสิกส์นั้นเอง แต่ล่ะต้นอาจเป็นอุณหภูมิที่ตำแหน่งนั้น หรือแต่ล่ะต้นอาจเป็นความเร็วลมที่ตำแหน่งนั้น ถ้าพิจารณาทั้งสนามเราคงได้สนามอุณหภูมิหรือสนามความเร็วลม คราวนี้คงเดากันไม่ยากแล้วใช่มั้ยครับ ว่าสนามสเกลาร์และเวกเตอร์คืออะไร

  • สนามสเกลาร์ (scalar field) คือ ปริมาณสเกลาร์ที่ขึ้นกับตำแหน่ง เช่น สนามอุณหภูมิ (เรามักจะคุ้นกับคำว่าแผนที่อุณหภูมิมากกว่า) แผนที่ความกดอากาศ หรือแผนที่พลังงานแสงอาทิตย์ดังรูปที่ (1) ด้านล่าง


  • รูปที่ 1: แสดงแผนที่พลังงานแสงอาทิตย์
    ที่มา: http://www2.dede.go.th/solarmap/

  • สนามเวกเตอร์ (vector field) คือ ปริมาณเวกเตอร์ที่ขึ้นกับตำแหน่ง เช่น สนามไฟฟ้า สนามความเร็วลม (แผนที่ความเร็วลม) ดังรูปที่ (2) ด้านล่าง


  • รูปที่ 2: แสดงแผนที่ความเร็วลม
    ที่มา: https://earth.nullschool.net/

    หมายเหตุ: คำว่า “ขึ้นกับ” ในที่นี้หมายถึง “เป็นฟังก์ชั่นของ”

    เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ให้ตำแหน่งใน 2 มิติ แทนด้วยพิกัด (\(x,y\)) เราอาจจะนึกภาพพิกัด (\(x,y\)) เป็นกราฟ 2 มิติ ที่มีแกนตั้งเป็น \(y\) และแกนนอนเป็น \(x\)

    ดังนั้น ถ้าเราแทนอุณหภูมิด้วย \(T\) และกำลังพิจารณาแผนที่อุณหภูมิใน 2 มิติ เราก็สามารถเขียนได้ว่า \(T \equiv T(x,y)\) และถ้าเราพิจารณาความเร็วลม (แทนด้วย \(\vec{v}\)) เราก็สามารถเขียนแผนที่ความเร็วลมได้ว่า \(\vec{v} \equiv \vec{v}(x,y)\)

    เป็นไงบ้างครับ รู้สึกสัมผัสถึงสนามอะไรบ้างยัง แล้วพบกันใหม่นะครับ

    วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

    เริ่มต้นกับ Physics Friday

    สวัสดีครับทุกคน พบกันครั้งแรกกับ Physics Friday โดยวันนี้จะมาพูดถึงจุดประสงค์ของ blog นี้นะครับ

    จุดประสงค์ของ blog นี้คือ เพื่อแชร์เรื่องราวน่าสนใจต่างๆ ที่ผมได้ผ่านหูผ่านตามาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นฟิสิกส์หรือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เรื่องราวหรือบทความที่นำเสนอจะไม่เป็นทางการ ใช้คำให้อ่านง่ายที่สุด และเนื้อหาไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดนะครับ (อาจจะไร้สาระบ้างคงไม่ว่ากัน 😀)

    ความคาดหวังของ blog นี้คือ เพื่อเพิ่มพื้นที่สาระเล็กๆน้อยๆ ในเวปบอร์ดภาษาไทย และเป็นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับผู้ที่สนใจ ใครมีข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นอย่างไรสามารถโพสต์มาได้นะครับ แล้วพบกันใหม่ครับ 😉

    วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

    การเขียนสมการโดยใช้ \( \LaTeX \) ใน blog เบื้องต้น

    สวัสดีครับทุกคน บทความนี้จะอธิบายการเขียนสมการ \( \LaTeX \) ลงใน blog (และ website ทั่วๆไป) ด้วย MathJax อย่างคร่าวๆ (ไม่เกี่ยวกับฟิสิกส์นะครับ) สำหรับคนที่ต้องการศึกษา MathJax เพิ่มเติม สามารถดูได้ตามลิ้งค์ที่ให้ไว้นะครับ [1] [2]

    แต่ก่อนอื่นผู้อ่านต้องมีความรู้เกี่ยวกับ \( \LaTeX \) มาบ้างแล้ว สำหรับผู้เริ่มต้นท่านสามารถศึกษา \( \LaTeX \) ได้จากอ้างอิง [3] ซึ่งจะมีไฟล์ pdf เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ดาวน์โหลด

    วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเรียก MathJax ให้ทำงานบน website คือเพิ่ม script ด้านล่างนี้ในส่วน header ของโค้ด html ที่ใช้งานอยู่โดยตรง

     <script type="text/x-mathjax-config">
         MathJax.Hub.Config({TeX: {equationNumbers: {autoNumber: "AMS"}}});
         MathJax.Hub.Config({tex2jax: {inlineMath: [['$','$'],
           ['\\(','\\)']],processEscapes: true}});
     </script>
     <script type="text/javascript" async
         src="https://cdn.mathjax.org/mathjax/latest/MathJax.js?config=TeX-AMS_CHTML">
     </script>

    เท่านี้ก็สามารถเขียนสมการ \( \LaTeX \) ได้แล้ว!

    ต่อไปเรามาดูตัวอย่างโค้ด html ง่ายๆ กันนะครับ

     <html>
     <head>
     <script type="text/x-mathjax-config">
         MathJax.Hub.Config({TeX: {equationNumbers: {autoNumber: "AMS"}}});
         MathJax.Hub.Config({tex2jax: {inlineMath: [['$','$'],
           ['\\(','\\)']],processEscapes: true}});
     </script>
     <script type="text/javascript" async
         src="https://cdn.mathjax.org/mathjax/latest/MathJax.js?config=TeX-AMS_CHTML">
     </script>
     </head>
     <body>
         กำหนดให้ \[A + B = C\]
     </body>
     </html>

    ซึ่งจะแสดงในหน้าเวปออกมาเป็น

    กำหนดให้ \[A + B = C\]

    ถ้าแสดงสมการถูกต้อง ก็เป็นอันใช้ได้

    โดยทั่วไป รูปแแบบสมการที่แสดงในหน้าเวปจะมี 2 แบบคือ inline และ display

  • inline function จะแสดงสมการแทรกในแต่ละบรรทัด โดยสมการจะอยู่ในเครื่องหมาย \(...\) เช่น
    \(E = mc^{2}\) จะแสดง \(E = mc^{2}\)

  • ส่วน display function จะแสดงสมการในบรรทัดใหม่ จะอยู่ในเครื่องหมาย $$...$$ หรือ \[...\] เช่น
    พิมพ์สมการ \[E = mc^{2}\] จะแสดง \[E = mc^{2}\]
  • ถ้าต้องการใส่เลขสมการกำกับ ใช้ equation แทนดังนี้

     \begin{equation}
     ...
     \end{equation}

    อย่างเช่นสมการที่ (\ref{eq:eq1}) \begin{equation} \label{eq:eq1} E = mc^2 \end{equation} เป็นยังไงบ้างครับ ไม่ยากเลยใช่มั้ย แค่นี้ก็สามารถสร้างสมการสวยๆ บนเวปไซต์ได้แล้ว แล้วไว้พบกันในบทความต่อไปนะครับ

    อ้างอิง

    [1] http://docs.mathjax.org/en/latest/tex.html.
    [2] https://www.w3.org/Math/MJ/Overview.html.
    [3] https://www.ctan.org/tex-archive/info/lshort/.